Wednesday, January 11, 2023
การที่ไม่ทำเรื่องขออนุญาตรื้อถอน ทุบตึก แล้วไปขออนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่
บริษัท บาวคอน จำกัด ความมุ่งมั่นของเรา มุ่งเน้นในการเป็นผู้เชี่ยวชาญ งานรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ภายใต้นโยบายทางด้าน เวลา ราคา คุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และข้อกฎหมาย
ให้บริการ
· ทุบทำลายคอนกรีต, สกัดคอนกรีต
· ตัดคอนกรีต, เจาะคอนกรีตด้วยเครื่อง Coring
· เบ่งคอนกรีตให้แตกด้วยเครื่องเบ่งไฮโดรลิก
· บีบและหนีบคอนกรีตด้วยเครื่องบีบไฮโดรลิก
· ทุบผนังคอนกรีต, สกัด Topping, รื้อฝ้า
· รับรื้อถอนอาคาร และงานสถาปัตยกรรมทุกชนิด
· รื้อถอนสะพาน, สกัดโครงสร้างคอนกรีต
· รื้อถอนอาคารตามเวนคืน, รื้อโกดัง
· รื้อโครงสร้างคอนกรีตที่อยู่ใต้ดิน
· รื้อโรงงาน และโครงเหล็กทุกชนิด
· รับทุบตึกและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด
ข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร (รื้อถอน/ทุบตึก
ทำไมต้องขออนุญาตรื้อถอนอาคาร (รื้อถอน/ทุบตึก)
การที่ไม่ทำเรื่องขออนุญาตรื้อถอน ทุบตึก แล้วไปขออนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ บ้านหลังใหม่ของเราก็จะถูกสวมทะเบียนตามมูลค่าเดิม จะเกิดปัญหาต่อการโอนต่อ ประวัติบ้านก็ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ทั้งขนาด อายุการใช้งาน และถ้ายิ่งไม่ขออนุญาต ก็จะเกิดปัญหากับทางเจ้าหน้าที่ของเทศบาล/เขต ตามมาได้
อาคารแบบไหนที่ต้องขออนุญาตรื้อถอนอาคาร (รื้อถอน/ทุบตึก)
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขโดย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๒ บัญญัติไว้ว่า : ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ
(๑) อาคารที่มีส่วนสูงเกินสิบห้าเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร
(๒) อาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าสองเมตร
สรุปการขออนุญาตก่อนการทุบตึก / รื้อถอน
กรณีอาคารสูงเกิน 15 เมตร หากอยู่ห่างจากอาคารอื่น ๆ หรือที่สาธารณะ น้อยกว่าระยะความสูงของอาคารจะต้องขออนุญาต แต่ถ้าอยู่ห่างอาคารอื่น ๆเป็นระยะเท่ากับหรือมากกว่าความสูงของอาคารไม่ต้องขออนุญาต
กรณีอาคารทั่วไป หากอยู่ห่างจากอาคารอื่น ๆ หรือที่สาธารณะ น้อยกว่า 2 เมตร หากจะทำการรื้อถอนจะต้องขออนุญาต แต่ถ้าอยู่ห่างอาคารอื่น ๆ ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไปก็ไม่ต้องขออนุญาต
เอกสารการขออนุญาตรื้อถอนอาคาร (รื้อถอน/ทุบตึก)
1. แบบแปลนของอาคารที่จะรื้อ ประกอบด้วยรายละเอียดแบบแปลนทุกชั้น รูปด้านข้างทั้งสองด้าน ภาพตัดขวาง และรายละเอียดวัสดุที่ใช้สร้างอาคาร วิธีการรื้อถอน มาตราการป้องกันความปลอดภัย
2. แบบคำร้อง ข.1, น.4, หนังสือยินยอมของวิศวกร
3. สำเนาบัตรประชาชน
4. สำเนาทะเบียนบ้านแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน
5. หนังสือยินยอม ในกรณีไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
6. สำเนาโฉนด เท่าตัวจริง
หมายเหตุ : ให้ไปติดต่อที่ฝ่ายโยธา เทศบาล/เขต ที่จะทำการรื้อถอนอาคาร
ขั้นตอนการขออนุญาตอาคาร (รื้อถอน/ทุบตึก)
1. ยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ดัดแปลงอาคาร, รื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1)
2. เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตแล้ว ท่านจะต้องมายื่นขอรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้
2.1 ใบแจ้งการออกใบอนุญาตก่อสร้าง, ดัดแปลง, รื้อถอนอาคาร ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ขออนุญาต
2.2 ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร, ดัดแปลงอาคารรื้อถอนอาคาร (แบบ อ.1) ให้ท่านไปขอรับใบอนุญาตภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งออกใบอนุญาตไว้ หากประสงค์จะขออนุญาตอีกจะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับการขออนุญาตใหม่
หมายเหตุ : ให้ไปติดต่อที่ฝ่ายโยธา เทศบาล / เขต ที่จะทำการรื้อถอนอาคาร
บทลงโทษหากไม่ขออนุญาตรื้อถอนอาคาร (รื้อถอน / ทุบตึก)
ส่วนบทลงโทษหากไม่ขออนุญาตรื้อถอน ทุบตึก ก็คือ ผู้ที่ทำการรื้อถอนอาคาร ทุบตึก โดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน และในวรรคสองของข้อกำหนดยังระบุอีกว่า ให้ต้องโทษปรับเป็นรายวันอีก ไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะทำการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
No comments :
Post a Comment